Highlight:
ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ ต้องผ่านการประเมินตามข้อกำหนดของ The World Professional Association for Transgender Health (WPATH) recommendations version 7 (Coleman, et al., 2011) ก่อนเท่านั้น
ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดแปลงเพศ ที่ผู้รับการผ่าตัดมักกังวลคือเรื่องของความสวยงามและการรับความรู้สึก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นกับหลายปัจจัย แพทย์ที่มีประสบการณ์ จะสามารถให้คำแนะนำ และเลือกชนิดของการผ่าตัดให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการ และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด
การตัดอัณฑะ (Orchidectomy)
การสร้างช่องคลอด (Vaginoplasty)
การตกแต่งอวัยวะภายนอก (Labiaplasty)
การผ่าตัดนี้มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น
การสร้างจุดรับความรู้สึก (Sensate Clitoroplasty)
การสร้างแคมใน (Labia Minora reconstruction) โดยใช้ผิวหนังจากถุงอัณฑะมาสร้างเป็นแคม
การสร้างช่องคลอดด้วยลำไส้ (Intestinal Vaginoplasty)
การสร้างช่องคลอดด้วยเยื่อบุช่องท้อง (Endoscopic Peritoneal Flap Vaginoplasty) ทำให้การผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงในปัจจุบัน มักจะได้ผลลัพธ์ที่ครบถ้วนทุกมิติและน่าพึงพอใจ
นอกจากการผ่าตัดบริเวณอวัยวะเพศแล้ว การผ่าตัดแปลงเพศยังรวมไปถึงการผ่าตัดชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
การปรับโครงสร้างใบหน้า (Facial Feminization Surgery)
การเหลาลูกกระเดือก (Tracheal Shave)
การผ่าตัดเส้นเสียง (Voice Feminization Surgery)
การเสริมหน้าอก (Breast Augmentation)
การเสริมสะโพก (Buttock Augmentation)
การปลูกผม (Hair Transplants) เป็นต้น
ผู้ที่เหมาะกับการผ่าตัดแปลงเพศ
สตรีข้ามเพศ (Transgender Woman: TGW) ที่ผ่านการประเมินตามข้อกำหนดของ The World Professional Association for Transgender Health (WPATH) recommendations version 7 (Coleman, et al., 2011)
มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ หากต้องการลดน้ำหนัก ควรลดน้ำหนักให้ได้ตามที่ต้องการก่อนทำการผ่าตัด
ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น โรคที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด (Hemophilia) โรคที่มีความผิดปกติของการหายของแผล (Ehlers-Danlos Syndrome)
ผู้ที่มีความคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่สมเหตุสมผล
มีสุขภาพจิตปกติ
มีอายุมากกว่า 20 ปี (หากอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องมีจดหมายยินยอมจากผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตามกฎหมาย)
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการผ่าตัดแปลงเพศ การผ่าตัดทุกชนิดมีความเสี่ยง แต่ไม่ใช่ว่าความเสี่ยงเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับทุกคน แพทย์จะให้คำปรึกษาและประเมินความเสี่ยง ให้โอกาสในการซักถามข้อสงสัย จากนั้นจึงร่วมกันตัดสินใจในด้านการผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดแปลงเพศ ที่ผู้รับการผ่าตัดมักกังวลคือเรื่องของความสวยงามและการรับความรู้สึก ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นกับหลายปัจจัย แพทย์ที่มีประสบการณ์ จะสามารถให้คำแนะนำ และเลือกชนิดของการผ่าตัดให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการ และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ในเรื่องของรอยแผลเป็น หากไม่มีประวัติแผลเป็นประเภทคีลอยด์มาก่อน มักจะได้รับผลลัพธ์ที่เรียบเนียน ซ่อนในตำแหน่งที่เหมาะสม ความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนในการหายของแผล (Wound complications) อาการชา (Numbness) หรือการขาดเลือดมาเลี้ยง (Skin Necrosis) ซึ่งมักพบในคนที่สูบบุหรี่จัด หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น แต่หากควบคุมอาการได้ดีก็ไม่ใช่ข้อห้ามในการผ่าตัด
การศัลยกรรมผ่าตัดแปลงเพศที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ดีอย่างไร? โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ มีเทคนิคที่ช่วยทั้งในการตรวจ การวางแผนผ่าตัดและในระหว่างการผ่าตัด อีกทั้ง แพทย์ที่ทำการผ่าตัด เป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์การผ่าตัดแปลงเพศต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี จึงมั่นใจได้ในผลลัพธ์จากเทคนิคและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดแปลงเพศ
6 เดือน ก่อนการผ่าตัด
งดยารักษาสิวชนิดที่มีส่วนผสมของวิตามิน A (Isotretinoin) เพราะอาจมีผลต่อการหายของแผล
3 เดือน ก่อนการผ่าตัด
เตรียมความพร้อมของร่างกาย ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
ตรวจสุขภาพประจำปี หากมีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์เพื่อรักษาและควบคุมอาการให้อยู่ในภาวะปกติ
4 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด
งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังผ่าตัดอย่างน้อย 4 สัปดาห์
งดการเจาะ/สักร่างกาย หรืออาบแดด หากมีการเจาะ ใส่ห่วง อยู่แล้วให้ถอดออกเพื่อเช็คและรักษาหากมีการอักเสบ
10 วัน ก่อนการผ่าตัด
งดยาที่มีผลกับการแข็งตัวของเลือด ได้แก่
ยาละลายลิ่มเลือด เช่น Aspirin, Coumadin, Ticlid, Plavix or Aggrenox. (โปรดปรึกษาแพทย์ประจำตัวถึงความปลอดภัยในการหยุดยา)
ยาแก้ปวดประเภท Nsaids เช่น Ibuprofen, Advil, Motrin, Nuprin, Aleve, Relafen, Naprosyn, Diclofenac, Naproxen, Voltaren, Daypro, Feldene, Clinoril, Lodine, Indocin, Orudis เป็นต้น
ยาระงับประสาท ยานอนหลับบางชนิด เช่น Zoloft, Lexapro, Prozac, Pristiq เป็นต้น
งด วิตามิน อาหารเสริมทุกชนิด ที่อาจมีผลกับการแข็งตัวของเลือด เช่น Multivitamins, Fish oil, Omega3, Co-enzyme Q10, Evening Primrose Oil, Glucosamine, Arnica, Ginseng, Gingko, herbs เป็นต้น
นอกจากคำแนะนำข้างต้นแล้ว ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดแปลงเพศ ความเสี่ยง ผลลัพธ์ รวบรวมคำถามที่ไม่เข้าใจ ปรึกษาแพทย์ พูดคุยถึงความคาดหวังหลังการผ่าตัดศัลยกรรมกับแพทย์ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแพทย์ด้านศัลยกรรมพลาสติก ได้ที่
ขั้นตอนการศัลยกรรมผ่าตัดแปลงเพศ
แพทย์จะซักถามและปรึกษาเรื่องผลลัพธ์อีกครั้งก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 4-5 ชั่วโมง
ดมยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์
หลังผ่าตัด พักฟื้นในโรงพยาบาล 5 คืน
นัดตรวจติดตามอาการ วันที่ 7 และวันที่ 14 หลังการผ่าตัด
การดูแลตนเองเพื่อฟื้นตัวหลังการศัลยกรรมผ่าตัดแปลงเพศ การฟื้นตัวหลังผ่าตัดขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความแข็งแรงของสุขภาพเดิมก่อนผ่าตัด ชนิดของการผ่าตัด การดูแลหลังผ่าตัด
จะมีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณแผลผ่าตัดปานกลาง
สามารถลุกเดินได้ในวันที่ 2 หลังผ่าตัด
สามารถอาบน้ำได้วันที่ 5 หลังผ่าตัด ควรดูแลแผล และทำการขยายโพรงช่องคลอดต่อเนื่องตามที่แพทย์แนะนำ
อาการบวมช้ำอาจอยู่ได้นาน 3-6 เดือน
ความรู้สึกของผิวหนังบริเวณที่ผ่าตัดอาจลดลง และจะดีขึ้นในเวลา 3-6 เดือน
แผลผ่าตัดมักจะแดงและนูนเล็กน้อยในช่วง 1-3 เดือนแรก และจางลงในเวลา 6-12 เดือน จึงควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรงเป็นเวลา 3-6 เดือน
สามารถกลับไปทำงานได้ใน 4-8 สัปดาห์
ควรงดออกกำลังกาย 4-6 สัปดาห์
การศัลยกรรมผ่าตัดแปลงเพศเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับกันในสังคม ซึ่งการผ่าตัดดังกล่าวมีความซับซ้อน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ที่มีความชำนาญทางด้านนี้โดยตรงและทำการผ่าตัดตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น และได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
Comments